วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วิชา   การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤน   แจ่มถิน

วันที่  5   มีนาคม   พ.ศ. 2558

เวลาเรียน   13.10 - 16.40   น.

เวลาเข้าเรียน   13.10   น.    เวลาเข้าสอน   13.10   น.   เวลาเลิกเรียน   16.40   น.


กิจกรรม / ความรู้ที่ได้รับ

          วันนี้อาจารย์ได้มีกิจกรรมให้ทำก่อนเรียนเป็นการวาดรูปมือข้างที่ไม่ถนัดของตนเอง โดยอาจารย์ได้แจกถุงมือให้คนละข้างแล้วให้สวมถุงมือในมือข้างที่ไม่ถนัดแล้วให้วาดรูปมือที่สวมถุงมือไว้โดยวาดให้วาดรายละเอียดทุกอย่างของมือเราที่อยู่กับเรามาตั้งแต่เกิด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็ไม่สามารถจดจำรายละเอียดของมือตนเองได้ทั้งที่มือนั้นอยู่กับเรามาตั้งแต่เกิดก็ตาม และนี่คือผลงานของดิฉันซึ่งก็ไม่มีความเหมือนเลย


ผลงานของดิฉัน


ผลงานของดิฉัน


การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

ทักษะของครูและทัศนคติ

   การฝึกเพิ่มเติม

     - อบรมระยะสั้น , สัมมนา
     - สื่อต่างๆ

การเข้าใจภาวะปกติ
     - เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
     - ครูต้องเรียนรู้ , มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
     - รู้จักเด็กแต่ละคน
     - มองเด็กให้เป็น  “ เด็ก ”

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
     - การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

ความพร้อมของเด็ก
     - วุฒิภาวะ
     - แรงจูงใจ
     - โอกาส

การสอนโดยบังเอิญ
     - มีลักษณะง่ายๆ
     - ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
     - เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
     - เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ

ตารางประจำวัน
     - เด็กพิเศษไม่สามารยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
     - กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
     - เด็กรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
     - การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบ ๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมาก ๆ
     - คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา

ทัศนคติต่อครู

   ความยืดหยุ่น
     - การแก้แผนการสอนให้เหมาะกับสถานการณ์
     - ยอมรับขอบเขตของความสามารถของเด็ก
     - ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การใช้สหวิทยากร
     - ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่น
     - สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้

     เด็กทุกคนสอนได้
     - เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
     - เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

เทคนิคการให้แรงเสริม

   แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
     - ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กคนนั้นสำคัญมาก
     - มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
     - หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆจะลดลงและหายไป

วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
     - ตอบสนองด้วยวาจา
     - การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
     - พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
     - สัมผัสทางกาย
     - ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
     - ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
     - ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
     - ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์

การแนะนำหรืบอกบท
     - ย่อยงาน
     - ลำดับความยากง่ายของงาน
     - การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
     - การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ

ขั้นตอนการให้แรงเสริม
     - สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
     - วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
     - สอนจากง่ายไปยาก
     - ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
     - ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
     - ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
     - ทีละขั้น ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น”
     - ไม่ดุหรือตี

การกำหนดเวลา
     - จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม

ความต่อเนื่อง
     - พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง

การลดหรือหยุดแรงเสริม
     - ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
     - ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
     - เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
     - เอาเด็กออกจากการเล่น


บรรยากาศภายในห้องเรียน

     วันนี้อาจารย์ได้มีการให้ทำกิจกรรมตั้งแต่ต้นคาบก่อนที่จะเรียนในส่วนของเนื้อหาเกี่ยวกับซึ่งเป็นการทำกิจกรรมการวาดภาพมือของเราโดยที่มีถุงมือคอยปกปิดรายละเอียดมือของเรา ทำให้เรารู้ว่าบางทีอะไรที่อยู่ใกล้ตัวเรามาตลอดแต่เราไม่เคยสังเกต และจดจำมันหรือบางทีเราก็สังเกตจดจำมันได้เพียงบางส่วนไม่สามารถที่จะอธิบายรายละเอียดของมันได้ทั้งหมดทั้งที่มันอยู่กับเรามาโดยซึ่งอาจารย์ก็นำส่วนนี้มาเปรียบเทียบกับเด็กทำให้เราเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งการทำกิจกรรมนี้ก็ทำให้บรรยากาศภายในห้องสนุกสนานเพื่อน ๆ แต่ละคนก็ตั้งใจทำกิจกรรมกันอย่างเต็มที่ 

บรรยากาศภายในห้องเรียน

บรรยากาศภายในห้องเรียน

บรรยากาศภายในห้องเรียน

ประเมินตนเอง
     - วันนี้ตั้งใจเรียนดี ตั้งใจจดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
     - เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนกันอย่างมาก ตั้งใจจดบันทึก และร่วมกันทำกิจกรรมภายในห้องกันอย่างสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์
     - วันนี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจสอน มีการยกตัวอย่างเพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นและมีกิจกรรมให้ทำภายในห้องเรียนทำให้มีความหลากหลายในการสอนและช่วยสร้างความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น