วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชา   การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤน   แจ่มถิน

วันที่  19   มีนาคม   พ.ศ. 2558

เวลาเรียน   13.10 - 16.40   น.

เวลาเข้าเรียน   13.10   น.    เวลาเข้าสอน   13.10   น.   เวลาเลิกเรียน   16.40   น.


กิจกรรม / ความรู้ที่ได้รับ
    
           วันนี้อาจารย์ได้มีกิจกรรมให้ทำก่อนเรียนเป็นกิจกรรมสนุก ๆ ที่ช่วยทำให้นักศึกษากระตือรือร้นเพิ่มมากขึ้น ในวันนี้อาจารย์ได้สอนในเรื่อง 

การส่งเสริมทักษะด้านต่าง ๆ ของเด็กปฐมวัย

     ทักษะการช่วยเหลือตนเอง เป็นการเรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่าง ๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
       - เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
       - อยากทำงานตามความสามารถ
      - เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ

     - การได้ทำด้วยตนเอง
     - เชื่อมั่นในตนเอง
     - เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
     - ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
     - ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป

จะช่วยเมื่อไหร่
     - เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
     - หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
     - เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
     - มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
     - แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ 
     - เรียงลำดับตามขั้นตอน
     - แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อย ๆ ให้มากที่สุด


          หลังจากที่อาจารย์สอนในส่วนของเนื้อหาเสร็จแล้วนั้นอาจารย์ได้มีกิจกรรมให้ทำโดยกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมเดี่ยว อาจารย์แจกกระดาษให้แล้วนำมาตัดแบ่งกัน จากนั้นให้ระบายสีเป็นวงกลมไปเรื่อย ๆ จนกว่าเราคิดว่าเราทำสวยแล้วจึงหยุดทำ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพอใจ เมื่อระบายสีเสร็จแล้วนั้นให้นำกรรไกรตัดกระดาษรูปวงกลมที่เราทำเสร็จแล้ว เมื่อทุกคนทำเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้ทุกคนนำรูปที่ตนวาดมาติดที่ต้นไม้ที่อาจารย์เตรียมไว้ให้แล้วให้ทุกคนนำรูปของตนเองมาติดตามที่ตนเองชอบ ซึ่งกิจกรรมก็ถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยบำบัดเด็กพิเศษด้วยจะฝึกให้เด็กมีสมาธิและช่วยผ่อนคลายอารมณ์ของเด็กได้

นี่คือผลงานของฉัน

ผลงานของฉัน
ผลงานของฉัน


นี่คือผลงานของเพื่อน ๆ ทุกคน


ผลงานของพวกเรา


บรรยากาศภายในห้องเรียน
          วันนี้ทุกคนในห้องเรียนดูกระตือรือร้นในการเรียนเป็นอย่างมากอาจารย์ได้นำกิจกรรมมาช่วยสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้สนุก ผ่อนคลาย ไม่เครียด เป็นกันเอง มีการใช้คำถามมาช่วยกระตุ้นการเรียนรู้อีกด้วย

บรรยากาศภายในห้องเรียน 
บรรยากาศภายในห้องเรียน

บรรยากาศภายในห้องเรียน


ประเมินตนเอง
     - วันนี้ตั้งใจเรียน ตั้งใจจดบันทึกเป็นอย่างดี ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน
     - วันนี้เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนดี ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดีและช่วยกันตอบคำถามดี

ประเมินอาจารย์
     - วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจสอน มีการนำกิจกรรมมาช่วยในการสอน และมีการยกตัวอย่างเหตุการณ์มาช่วยทำให้เข้าใจในการเรียนเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชา   การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤน   แจ่มถิน

วันที่  12   มีนาคม   พ.ศ. 2558

เวลาเรียน   13.10 - 16.40   น.

เวลาเข้าเรียน   13.10   น.    เวลาเข้าสอน   13.10   น.   เวลาเลิกเรียน   16.40   น.


กิจกรรม / ความรูู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

การวัดความสามารถทางภาษา

     - เด็กเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
     - สนทนามีการตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยหรือเปล่า
     - ถามหาสิ่งต่างๆไหม
     - เด็กสามารถบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้หรือไม
     - ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
     - การพูดตกหล่น
     - การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
     - ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
     - ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
     - ห้ามบอกเด็กว่า “ พูดช้าๆ ” “ ตามสบาย ” “ คิดก่อนพูด ”
     - อย่าขัดจังหวะเด็กขณะพูด
     - อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
     - ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
     - เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
     - ทักษะการรับรู้ภาษา
     - การแสดงออกทางภาษา
     - การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
     - การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
     - ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
     - ให้เวลาเด็กได้พูด
     - คอยให้เด็กตอบ(ชี้แนะหากจำเป็น)
     - เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
     - เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
     - ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างเพื่อน
     - กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
     - เน้นวิธีการสื่อสารความหมายมากกว่าการพูด
     - ใช้คำถามปลายเปิด
     - เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
     - ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การสอนตามเหตุการณ์
     - เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้สอนเด็กพิเศษ
     - ครูสอนตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในห้องเรียน
     - พบบ่อยในห้องเรียนรวม

          หลังจากเรียนในส่วนของเนื้อหาไปแล้วอาจารย์มีการให้ทำกิจกรรมภายในห้องเรียนซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยบำบัดเด็กพิเศษ โดยอาจารย์ให้จับกลุ่ม 2 - 3 คน แล้วแจกกระดาษให้แต่ละคู่ซึ่งให้แต่ละกลุ่มหยิบสีคนละ 1 สี แล้วลากเป็นเส้นตรงตามเสียงเพลงที่ได้ยินมีข้อแม้ว่าทุกคนห้ามยกมือขึ้นก่อนที่เพลงจะจบ หลังจากที่เพลงจบแล้วนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มดูช่องที่เกิดขึ้นที่เป็นช่องปิดตายเท่านั้นแล้วให้แต่ละกลุ่มช่วยกันเอาสีใดก็ได้ระบายลงบนช่องปิดตายทั้งหมดที่เกิดขึ้น   หลังจากทำกิจกรรมเสร็จแล้วและนี่คือผลงานของดิฉันและเพื่อน ๆ ในกลุ่ม



ผลงานของฉัน

ผลงานของฉันและเพื่อน ๆ

และนี่คือ ผลงานของเพื่อน ๆ ทุกกลุ่มที่นำมาวางรวมกันค่ะ

ผลงานของทุก ๆ กลุ่ม


บรรยากาศภายในห้องเรียน

           วันนี้บรรยากาศภายในห้องเป็นไปอย่างสนุกสนานเพื่อน ๆ ทุกคนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมทุกกิจกรรมที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดี เพื่อน ๆ ทุกคนได้ทำงานร่วมกันได้เห็นถึงความคิดและผลงานของกันและกัน ทำให้มีความสามัคคีกันภายในห้องเรียน

บรรยากาศภายในห้องเรียน

บรรยากาศภายในห้องเรียน

ประเมินตนเอง
     - วันนี้แต่งกายถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ตั้งใจเรียนและตั้งใจจดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดี ทำงานร่วมกับเพื่อนได้ด้วยความสนุกสนานและให้ความร่วมมือในการตอบคำถามภายในห้องด้วย

ประเมินเพื่อน 
     - วันนี้เพื่อน ๆ แต่งกายได้เรียนร้อยดีมาก ตั้งใจเรียนดี และให้ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรมภายในห้องด้วยความสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์
     - อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยดี ตั้งใจสอน มีการนำกิจกรรมมาช่วยทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และอาจารย์มีความเป็นกันเองทำให้ไม่อึดอัด ผ่อนคลาย และมีความสุขในการเรียนดีค่ะ 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วิชา   การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤน   แจ่มถิน

วันที่  5   มีนาคม   พ.ศ. 2558

เวลาเรียน   13.10 - 16.40   น.

เวลาเข้าเรียน   13.10   น.    เวลาเข้าสอน   13.10   น.   เวลาเลิกเรียน   16.40   น.


กิจกรรม / ความรู้ที่ได้รับ

          วันนี้อาจารย์ได้มีกิจกรรมให้ทำก่อนเรียนเป็นการวาดรูปมือข้างที่ไม่ถนัดของตนเอง โดยอาจารย์ได้แจกถุงมือให้คนละข้างแล้วให้สวมถุงมือในมือข้างที่ไม่ถนัดแล้วให้วาดรูปมือที่สวมถุงมือไว้โดยวาดให้วาดรายละเอียดทุกอย่างของมือเราที่อยู่กับเรามาตั้งแต่เกิด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็ไม่สามารถจดจำรายละเอียดของมือตนเองได้ทั้งที่มือนั้นอยู่กับเรามาตั้งแต่เกิดก็ตาม และนี่คือผลงานของดิฉันซึ่งก็ไม่มีความเหมือนเลย


ผลงานของดิฉัน


ผลงานของดิฉัน


การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

ทักษะของครูและทัศนคติ

   การฝึกเพิ่มเติม

     - อบรมระยะสั้น , สัมมนา
     - สื่อต่างๆ

การเข้าใจภาวะปกติ
     - เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
     - ครูต้องเรียนรู้ , มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
     - รู้จักเด็กแต่ละคน
     - มองเด็กให้เป็น  “ เด็ก ”

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
     - การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

ความพร้อมของเด็ก
     - วุฒิภาวะ
     - แรงจูงใจ
     - โอกาส

การสอนโดยบังเอิญ
     - มีลักษณะง่ายๆ
     - ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
     - เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
     - เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ

ตารางประจำวัน
     - เด็กพิเศษไม่สามารยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
     - กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
     - เด็กรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
     - การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบ ๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมาก ๆ
     - คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา

ทัศนคติต่อครู

   ความยืดหยุ่น
     - การแก้แผนการสอนให้เหมาะกับสถานการณ์
     - ยอมรับขอบเขตของความสามารถของเด็ก
     - ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การใช้สหวิทยากร
     - ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่น
     - สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้

     เด็กทุกคนสอนได้
     - เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
     - เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

เทคนิคการให้แรงเสริม

   แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
     - ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กคนนั้นสำคัญมาก
     - มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
     - หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆจะลดลงและหายไป

วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
     - ตอบสนองด้วยวาจา
     - การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
     - พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
     - สัมผัสทางกาย
     - ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
     - ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
     - ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
     - ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์

การแนะนำหรืบอกบท
     - ย่อยงาน
     - ลำดับความยากง่ายของงาน
     - การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
     - การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ

ขั้นตอนการให้แรงเสริม
     - สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
     - วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
     - สอนจากง่ายไปยาก
     - ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
     - ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
     - ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
     - ทีละขั้น ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น”
     - ไม่ดุหรือตี

การกำหนดเวลา
     - จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม

ความต่อเนื่อง
     - พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง

การลดหรือหยุดแรงเสริม
     - ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
     - ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
     - เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
     - เอาเด็กออกจากการเล่น


บรรยากาศภายในห้องเรียน

     วันนี้อาจารย์ได้มีการให้ทำกิจกรรมตั้งแต่ต้นคาบก่อนที่จะเรียนในส่วนของเนื้อหาเกี่ยวกับซึ่งเป็นการทำกิจกรรมการวาดภาพมือของเราโดยที่มีถุงมือคอยปกปิดรายละเอียดมือของเรา ทำให้เรารู้ว่าบางทีอะไรที่อยู่ใกล้ตัวเรามาตลอดแต่เราไม่เคยสังเกต และจดจำมันหรือบางทีเราก็สังเกตจดจำมันได้เพียงบางส่วนไม่สามารถที่จะอธิบายรายละเอียดของมันได้ทั้งหมดทั้งที่มันอยู่กับเรามาโดยซึ่งอาจารย์ก็นำส่วนนี้มาเปรียบเทียบกับเด็กทำให้เราเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งการทำกิจกรรมนี้ก็ทำให้บรรยากาศภายในห้องสนุกสนานเพื่อน ๆ แต่ละคนก็ตั้งใจทำกิจกรรมกันอย่างเต็มที่ 

บรรยากาศภายในห้องเรียน

บรรยากาศภายในห้องเรียน

บรรยากาศภายในห้องเรียน

ประเมินตนเอง
     - วันนี้ตั้งใจเรียนดี ตั้งใจจดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
     - เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนกันอย่างมาก ตั้งใจจดบันทึก และร่วมกันทำกิจกรรมภายในห้องกันอย่างสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์
     - วันนี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจสอน มีการยกตัวอย่างเพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นและมีกิจกรรมให้ทำภายในห้องเรียนทำให้มีความหลากหลายในการสอนและช่วยสร้างความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วิชา   การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤน   แจ่มถิน

วันที่  26   กุมภาพันธ์   พ.ศ. 2558

เวลาเรียน   13.10 - 16.40   น.

เวลาเข้าเรียน   13.10   น.    เวลาเข้าสอน   13.10   น.   เวลาเลิกเรียน   16.40   น.





วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากอยู่ในช่วงของการสอบกลางภาค

******************************************************************************