วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา   การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤน   แจ่มถิน

วันที่  5   กุมภาพันธ์   พ.ศ. 2558

เวลาเรียน   13.10 - 16.40   น.

เวลาเข้าเรียน   13.10   น.    เวลาเข้าสอน   13.10   น.   เวลาเลิกเรียน   16.40   น.


กิจกรรม / ความรู้ที่ได้รับ

          ในวันนี้อาจารย์สอนในเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม  ก่อนที่อาจารย์สอนนั้นอาจารย์ได้ให้ทุกคนวาดรูปดอกไม้ที่อาจารย์กำหนดให้นั่นคือ ดอกลิลลี่ อาจารย์บอกว่าให้วาดให้เหมือนที่สุด นี่คือผลงานของดิฉันค่ะ

ผลงาน

ครูไม่ควรวินิจฉัย
          การวินิจฉัย หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
     - เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
     - ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
     - เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริง ๆ 

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
     - พ่อแม่ของเด็กมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
     - พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้แล้ว
     - ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก
     - ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง
     - ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง
     - ครูควรชี้ให้เห็นพฤติกรรมในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการ
     - ให้ข้อแนะนำในการกาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
     - สังเกตอย่างมีระบบ
     - จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วง ๆ

สังเกตอย่างมีระบบ
     - ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
     - ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
     - ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
     - จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
     - เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
     - บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ 

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
     - ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
     - ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
     - พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป 

การบันทึกการสังเกต
     - การนับอย่างง่ายๆ
     - การบันทึกต่อเนื่อง
     - การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

การนับอย่างง่าย ๆ
     - นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
     - กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
     - ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม 

การบันทึกต่อเนื่อง
     - ให้รายละเอียดได้มาก 
     - เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
     - โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ 

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
     - บันทึกลงบัตรเล็กๆ
     - เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง 

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
     - ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
     - พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
     - ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
     - พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่ 


          หลังจากที่เรียนในส่วนของเนื้อหาไปแล้วอาจารย์อาจารย์ได้เฉลยถึงความหมายของการที่อาจารย์ให้วาดดอกลิลลี่และให้รอเพลงตามที่อาจารย์ได้แจกเนื้อร้องให้

เพลง ฝึกกายบริหาร
                                                                     ผู้แต่งอ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว



บรรยากาศภายในห้องเรียน

          ในวันนี้บรรยากาศภายในห้องคึกคักตั้งแต่ช่วงต้นคาบเนื่องจากอาจารย์ได้ให้วาดรูปต่อจากนั้นก็เข้าสู่บทเรียนตามปกติมีการถาม - ตอบระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาทำให้บรรยากาศภายในห้องเรียนค่อนข้างผ่อนคลายไม่เครียดมากเท่าไหร่

บรรยากาศภายในห้องเรียน

บรรยากาศภายในห้องเรียน

บรรยากาศภายในห้องเรียน

ประเมินตนเอง
     - วันนี้ตั้งใจเรียนมากโดยเฉพาะตอนวาดรูปพยายามวาดรูปให้เหมือนที่สุด ตั้งใจจดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอนและตั้งใจทำกิจกรรมภายในห้องเรียนอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน
     - เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนกันอย่างมาก ตั้งใจจดบันทึก และร่วมกันทำกิจกรรมภายในห้องกันอย่างสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์
     - วันนี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยดี ตั้งใจสอนมาก มีการยกตัวอย่างเพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นและมีกิจกรรมให้ทำภายในห้องเรียนทำให้มีความหลากหลายในการสอนมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น